ไก่ชน
ประวัติไก่ชน
ไก่ชน มีประวัติเล่าขานกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ( 356–
323 ปี ก่อนคริสตกาล ) ซึ่งเป็นจอมจักรพรรดิของกรีก
ได้กรีธาทัพแผ่อิทธิพลขยายอาณาจักรเข้ามายังประเทศอินเดีย
มีเรื่องเล่ากันว่าแม่ทัพนายกองได้เห็น การชนไก่ ที่อินเดีย จึงได้นำ ไก่ชน
ไปขยายพันธุ์ ณ เมืองอเล็กซานเดรีย ซึ่งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
หลังจากนั้นได้นำไก่ที่ขยายพันธุ์ได้ไปฝึกให้มีชั้นเชิงการต่อสู้แบบโรมัน เพื่อนำไปต่อสู้ในสนามโคลีเซียม เมื่ออังกฤษปกครองอินเดียได้นำ ไก่ชน
จากอินเดียเข้าไปเผยแพร่ในอังกฤษ โดยยอมรับว่า กีฬาไก่ชน
เป็นเกมกีฬาที่ควรได้รับความนิยมจากบุคคลชั้นสูงเช่นเดียวกับการแข่งม้าและฟันดาบ
นอกจากนี้ กีฬาชนไก่ ยังได้เผยแพร่เข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
ไก่ชนในเอเซีย กีฬา ไก่ชน หรือ ตีไก่
ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเซีย เช่น ไทย พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย การชนไก่ ในแถบเอเซียมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน
และเชื่อว่า ไก่ชน มีพัฒนาการมาจาก ไก่ป่า ซึ่งมนุษย์นำมาเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารประจำบ้าน
เมื่อ ไก่ป่า มาอยู่กับคนนานเข้า ก็ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
นิสัยประจำตัวของไก่คือหวงถิ่นที่อยู่ ถ้ามีไก่ตัวอื่นๆ
ข้ามถิ่นเข้ามาก็จะออกปกป้องที่อยู่อาศัย หรือเมื่อมีการแย่งผสมพันธุ์กับตัวเมีย
ไก่ตัวผู้ก็จะตีกัน ซึ่งทำให้เกิดการถือหางกันระหว่างเจ้าของไก่
และด้วยนิสัยของนักพนันจึงทำให้มีการแข่งขันกัน การพัฒนาสายพันธุ์ของ ไก่ป่า
จึงมีวิวัฒนาการเรื่อยมา
ไก่ชนในเมืองไทย ในอดีต พันธุ์ ไก่ชน ไทยเป็น “ มรดกของไทย “ มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือพันธุ์ “ ประดู่หางดำ ” และ “ เหลืองหางขาว ” ในสมัยกรุงสุโขทัย ไก่ชนประดู่หางดำพันธุ์แสมดำ ได้ชื่อว่า “ ไก่พ่อขุน ” เนื่องจากว่าเป็นไก่ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงโปรด สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงนำ “ ไก่เหลืองหางขาว ” จากบ้านกร่าง เมืองพิษณุโลก ไปชนชนะไก่ของพระมหาอุปราชาที่กรุงหงสาวดี ไก่พันธุ์นี้เป็นที่นิยมเลี้ยงกัน ตามซุ้มที่เลี้ยง ไก่ชน มักจะมี ไก่ชนเหลืองหางขาว เลี้ยงไว้เพื่อเป็นไก่นำโชค และนิยมเรียกชื่อว่า “ ไก่เจ้าเลี้ยง ”
ไก่ชนในเมืองไทย ในอดีต พันธุ์ ไก่ชน ไทยเป็น “ มรดกของไทย “ มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือพันธุ์ “ ประดู่หางดำ ” และ “ เหลืองหางขาว ” ในสมัยกรุงสุโขทัย ไก่ชนประดู่หางดำพันธุ์แสมดำ ได้ชื่อว่า “ ไก่พ่อขุน ” เนื่องจากว่าเป็นไก่ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงโปรด สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงนำ “ ไก่เหลืองหางขาว ” จากบ้านกร่าง เมืองพิษณุโลก ไปชนชนะไก่ของพระมหาอุปราชาที่กรุงหงสาวดี ไก่พันธุ์นี้เป็นที่นิยมเลี้ยงกัน ตามซุ้มที่เลี้ยง ไก่ชน มักจะมี ไก่ชนเหลืองหางขาว เลี้ยงไว้เพื่อเป็นไก่นำโชค และนิยมเรียกชื่อว่า “ ไก่เจ้าเลี้ยง ”
ลักษณะไก่ชน
เรื่อง
การกำหนดมาตรฐานพันธุ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช
ความเป็นมา ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช เป็นไก่ชนตามประวัติศาสตร์ที่ปรากฎอยู่ในพงศาวดารเมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพำนักอยู่ในประเทศพม่า พระองค์ทรงนำไก่เหลืองหางขาวไปจากเมืองพิษณุโลกเพื่อนำไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา เป็นไก่ที่มีลักษณะพิเศษ มีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้จึงชนชนะจนได้สมญาว่า "เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง" ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ได้ทำการค้นคว้าและทำการส่งเสริมเผยแพร่ โดยจัดทำการประกวดครั้งแรกเมื่อ 29 กรกฎาคม 2533 และในปี 2534ได้จัดตั้งชมรมอนุรักษ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นที่ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จนถึงปี 2544 ได้จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนพระนเรศวรขึ้นทุกอำเภอรวม 12กลุ่ม
แหล่งกำเนิด ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชเป็นไก่ชนสายพันธุ์เหลืองหางขาวและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกจนถึงขนาดนี้ ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชนับว่าเป็นของดีของจังหวัดพิษณุโลกและเป็นสมบัติของชาติไทยที่กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ ดังนั้นเพื่อการอนุรักษ์และการพัฒนาไก่ชนพระนเรศวรมหาราชงานดำเนินไปในทิศทางเดียวกันคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และลักษณะประจำพันธุ์ที่แน่นอน สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลกจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานพันธุ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม
ความเป็นมา ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช เป็นไก่ชนตามประวัติศาสตร์ที่ปรากฎอยู่ในพงศาวดารเมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพำนักอยู่ในประเทศพม่า พระองค์ทรงนำไก่เหลืองหางขาวไปจากเมืองพิษณุโลกเพื่อนำไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา เป็นไก่ที่มีลักษณะพิเศษ มีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้จึงชนชนะจนได้สมญาว่า "เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง" ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ได้ทำการค้นคว้าและทำการส่งเสริมเผยแพร่ โดยจัดทำการประกวดครั้งแรกเมื่อ 29 กรกฎาคม 2533 และในปี 2534ได้จัดตั้งชมรมอนุรักษ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นที่ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จนถึงปี 2544 ได้จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนพระนเรศวรขึ้นทุกอำเภอรวม 12กลุ่ม
แหล่งกำเนิด ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชเป็นไก่ชนสายพันธุ์เหลืองหางขาวและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกจนถึงขนาดนี้ ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชนับว่าเป็นของดีของจังหวัดพิษณุโลกและเป็นสมบัติของชาติไทยที่กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ ดังนั้นเพื่อการอนุรักษ์และการพัฒนาไก่ชนพระนเรศวรมหาราชงานดำเนินไปในทิศทางเดียวกันคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และลักษณะประจำพันธุ์ที่แน่นอน สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลกจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานพันธุ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม
ตำนานและประวัติไก่ชนกับพระนเรศวร
ตำนานและประวัติไก่ชนกับพระนเรศวรการตีไก่
เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในพม่า โดยเฉพาะในราชสำนักถือกันว่า
การตีไก่เป็นกีฬาชาววังวันหนึ่งได้มีการตีไก่กันขึ้นระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับไก่มังชัยสิงห์
ราชนัดดา(ต่อมาได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชาในสมัยพระเจ้านันทบุเรง
ราชโอรสพระเจ้าบุเรงนอง กำลังกร่ำศึก)
มังชัยสิงห์จึงขัดเคืองตรัสประชดประชันหยามหยันออกมา
อย่างผู้ถือดีว่ามีอำนาจเหนือกว่า "ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ"
สมเด็จพระนเรศวรสวรจึงตรัสโต้ตอบเป็นเชิงท้าอยู่ในทีว่า ไก่เชลยตัวนี้
อย่าว่าแต่จะตีกันอย่างกีฬาในวังเหมือนอย่าง วันนี้เลย
ตีพนันบ้านเมืองกันก็ยังได้มังชัยสิงห์คัดเคืองมากหากแต่ตระหนักดีว่าสมเด็จพระนเรศวร
เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าบุเรงนองจะพาลวิวาทก็ยำเกรงฝีมือพระนเรศวร ขณะที่ไก่ของสมเด็จพระนเรศวรกับไก่ของพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี
กำลังชนกันอย่างทรหด ต่างตัวต่างเข้าจิก ตีฟาดแข้ง แทงเดือยอย่างไม่ลดละ
อย่างคาดไม่ถึง
ขณะที่ไก่ฟาดแข้งกันอย่างอุตลุดพัลวันเมื่อทั้งสองไก่พัวพันกันอยู่พักหนึ่ง
ไก่ของพระมหาอุปราชก็มีอันล้มกลิ้งไปต่อหน้าต่อตา ไก่ของพระนเรศวรกระพือปีกอย่าง
ทรนงและขันเสียงใส พระมหาอุปราชถึงกับสะอึก
สะกดพระทัยไว้ไม่ได้จากตำราเชื่อว่าไก่ที่พระนเรศวรทรงนำไปชนกับพม่านั้น
นำไปจากบ้านกร่าง เดิมเรียกว่าบ้านหัวเท ซึ้งอยู่ห่างจากเมืองพิษณุโลก
ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 9 กิโลเมตร ขณะที่ชนไก่ พ.ศ. 2121
พระชันษา 23 ปี
เป็นพันธุ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ
พันธุ์เหลืองหางขาว ตามตำรากล่าวว่า ไก่เหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยง
ในทุกพื้นที่ที่มีการเล่นไก่ชน ไก่เหลืองหางขาวมักจะเป็นตัวเอกทุกๆ
สังเวียนอยู่เสมอ
หรือแทบจะเรียกได้ว่าไก่พันธุ์นี้อยู่ในความครอบครองของนักเลงไก่อยู่เสมอ
ไก่เหลืองหางขาวจัดว่าเป็นไก่ที่มีสกุลและมีลักษณะเด่นมาก
จากประวัติฝีมือความสามารถ ทำให้มีการพูดเสมอในวงพนันว่า
ไก่เหลืองหางขาวกินเหล้าเชื่อ หมายความว่าเมื่อนำไก่สีนี้ไปตี
สามารถที่จะเชื่อมั่นได้ว่า
จะต้องเป็นฝ่ายชนะอย่างแน่นอนสามารถสั่งเหล้าเงินเชื่อมากินก่อนได้เลย
ไก่เหลืองหางขาวที่มีลักษณะตรงตามตำราหน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง สร้อยระย้า
หน้านกยูง อกชัน หวั้นชิด หงอนบิด ปากร่อง พัดเจ็ด ปีกสิบเอ็ด เกล็ดยี่สิบสอง
ถือเป็นไก่ชั้นเยี่ยม
ไก่ชนไทยเป็นที่รู้จักกันดีและมีชื่อเสียงในทวีปเอเชีย
ในด้านความสวยงามและทักษะในการต่อสู้ ไก่ชนไทยมีกำเนิดในทวีปเอเชียตอนใต้พัฒนาจากไก่ป่าสีแดงในแถบอินโดจีน
พม่า ฟิลิปปินส์ ไทย พันธุ์ไก่ชนไทยได้รับการคัดเลือกพันธุ์ ผสมพันธุ์
พัฒนาโดยนักเล่นไก่ชนไทยมากว่า 500 ปีในชนบท
การเลี้ยงไก่ชนเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีพแทบทุกหมู่บ้าน เลี้ยงปล่อยหลังบ้านเพื่อการนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามและเป็นแหล่งอาหารที่มีรสชาติดี
มีคุณภาพ1. เจ้าเนื้อ ลำตัวยาว หน้าอกกว้าง ปั้นท้ายกว้าง
และปั้นขาใหญ่2. สง่า สีสันสดใส สวยงาม3. แข็งแรงและทนทานต่อโรค4. มีลักษณะนิสัยเป็นนักสู้ตามธรรมชาติ
ฉลาด มีชั้นเชิง ตีแม่นยำ และมีความอดทนเป็นเลิศ5. ความสามารถในเชิงกีฬา
เป็นการเพิ่มมูลค่า6. ฟักไข่และเลี้ยงลูกเก่ง7. คุ้ยเขี่ยหาอาหารกันเก่ง ใช้อาหารจากธรรมชาติเป็นหลัก8. ชอบกินหนอนและแมลง เป็นสัตว์ช่วยลดปริมาณศัตรูพืช9. ราคาดี
เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ10. เนื้อแน่น
รสชาติดี มีไขมันต่ำ
และปลอดภัยจากสารพิษอุดมทัศนีย์ไก่ชนไทยสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมืองไทย
และกรมปศุสัตว์
ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของไก่พื้นเมืองไทยที่เป็นต้นพันธุ์ของไก่ชนที่นิยมเลี้ยงในปัจจุบัน
จึงได้ทำการรวบรวมลักษณะและมาตรฐานไก่พื้นเมืองไทย 11 สายพันธุ์
เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในแนวทางในการศึกษาวิจัย
พัฒนาปรับปรุงพันธุ์และอนุรักษ์พันธุกรรมที่ดีของไก่พื้นเมืองไทยให้ยั่งยืนต่อไป
ไก่ชนไทยเป็นไก่ชนไทยที่มีลีลาฝีตีนแพรวพราว มีทั้งลูกล่อลูกชนยากจะหาไก่ชาติใดๆเสมอเหมือน
คือ ทั้ง กอดขี่ บดบี้ ขยี้ ล็อก เท้าหุ่น ตีตัว มุดมัดและมุดลอดทะลุขา
เมื่อเปรียบกับไก่ชาติอื่นๆแล้วถือว่าไก่ชนไทยมีภาษีดีกว่าไก่ชนชาติอื่นๆ
แล้วทำไมไก่ชนไทยจึงตีต่อสู้ไก่ต่างชาติไม่ได้ หรือเป็นเพียงคำพูดที่กล่าวกันเล่นๆ
หรือต้องการโปรโมทไก่ชนต่างชาติ แต่ข้อเท็จจริงแล้วมีดังนี้
1. ไก่ชนไทยกับไก่พม่าลูก 100% ไม่มีโอกาสตีกันได้ หรือตีได้ก็น้อยคู่มาก เพราะขนาดของไก่ไทยกับไก่พม่าเป็นไก่คนละขนาด คือ ไก่พม่าแท้ๆจะมีขนาดเล็กและมีน้ำหนักไม่เกิน 2.5 กก. ตัวที่โต 3.00 กก. ขึ้นมีน้อย ส่วนไก่ไทยตัวที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 กก. ก็มีน้อยแทบนับตัวได้ ยกเว้นไก่ป่าก๋อยที่มีขนาดเล็ก ไก่พม่าที่นำมาตีกับไก่ไทยในทุกวันนี้ ส่วนมากเป็นลูกผสม หรือลูกผ่านที่นำไก่พม่ามาผสมกับไก่ไทย เป็นไก่ที่มีเลือดพม่า 50% บ้าง 25% บ้าง ซึ่งจะมีขนาดโตประมาณ 3.00-3.20 กก. สำหรับไก่ลูกผสมพม่าที่มาตีกับไก่ไทย 100% นั้น ก็มีแพ้ มีชนะ ไม่ได้ชนะไก่ไทยทุกตัว ดังนั้นจะสรุปว่าไก่ไทยสู้ไก่พม่าไม่ได้นั้นจึงไม่เป็นความจริง เหตุที่เขานิยมไก่ลูกผสมพม่า ก็เพราะตัวไก่ลูกผสมตัวใดมีลีลาชั้นเชิงแบบไก่พม่า ก็เป็นไก่ที่สามารถปราบไก่เชิงกอดขี่ได้ ซึ่งไก่เชิงกอดขี่นี้เป็นไก่ที่นิยมเลี้ยงกันมาก ด้วยเหตุนี้เขาจึงนำไก่ลูกผสมพม่ามาเล่นเพื่อแก้ทางไก่เชิง ความจริงไก่พม่าก็แพ้ทางไก่ประเภท เดินอัด เดินบี้จี้ไม่ห่าง จิกหลังจิกไหล่ตี ตีหน้าคอ หน้าอุด ตีตัว ตีหลัง ไก่พม่าทนไม่ได้เพราะกระดูกบาง ถอดใจหนีง่ายๆ อีกอย่างหนึ่ง ไก่พม่ามักจะแพ้ทางไก่ประเภท ลูกหน้าไวและไก่แข้งเปล่า หรือดีดลูกหน้าไว เข้าทำนองหมองูตายเพราะงู ดังนั้นถ้าเราหาไก่ไทยที่มีชั้นเชิงดังกล่าว ก็สามารถสู้ไก่พม่าได้ ไม่ว่าจะเป็นลูก 100% หรือลูกผสม
2. ไก่ชนไทยกับไก่ไซง่อนลูก 100% ไก่ไทยกับไก่ไซง่อนมีโอกาสตีกันได้มากกว่าไก่ไทยกับไก่พม่าลูก 100% เพราะมีขนาดใกล้เคียงกัน ข้อเท็จจริงไก่ไซง่อนมีจุดเด่นมากกว่าไก่ไทยทั่วไป คือ กระดูกโครงสร้างใหญ่ ผิวหนังหนากว่าไก่ไทย ปอดใหญ่กว่า ตีหนัก ลำโต แต่ไก่ไซง่อนมีจุดอ่อนที่อืดอาด ช้าไม่คล่องตัว ลีลาชั้นเชิงมีน้อย ไก่ไซง่อนลูก 100% ไม่น่ากลัว ไก่ไทยสามารถสู้ได้ คือ เราต้องหา ไก่ตีแผล ตีวงแดง ตีบ้องหู และต้องเป็นไก่ปากไว ไก่ไซง่อนที่เขากลัวกันทุกวันนี้ไม่ใช่ไซง่อนลูก 100% แต่เขากลัวลูกไซง่อนผสม ที่ผสมไทย ผสมพม่า เพราะไก่ไซง่อนลูกผสมบางตัวมักเป็นไก่ปากไว ตีแม่นและตีลำโต แถมมีโครงสร้างและผิวพรรณแบบไก่ไซง่อนด้วย
1. ไก่ชนไทยกับไก่พม่าลูก 100% ไม่มีโอกาสตีกันได้ หรือตีได้ก็น้อยคู่มาก เพราะขนาดของไก่ไทยกับไก่พม่าเป็นไก่คนละขนาด คือ ไก่พม่าแท้ๆจะมีขนาดเล็กและมีน้ำหนักไม่เกิน 2.5 กก. ตัวที่โต 3.00 กก. ขึ้นมีน้อย ส่วนไก่ไทยตัวที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 กก. ก็มีน้อยแทบนับตัวได้ ยกเว้นไก่ป่าก๋อยที่มีขนาดเล็ก ไก่พม่าที่นำมาตีกับไก่ไทยในทุกวันนี้ ส่วนมากเป็นลูกผสม หรือลูกผ่านที่นำไก่พม่ามาผสมกับไก่ไทย เป็นไก่ที่มีเลือดพม่า 50% บ้าง 25% บ้าง ซึ่งจะมีขนาดโตประมาณ 3.00-3.20 กก. สำหรับไก่ลูกผสมพม่าที่มาตีกับไก่ไทย 100% นั้น ก็มีแพ้ มีชนะ ไม่ได้ชนะไก่ไทยทุกตัว ดังนั้นจะสรุปว่าไก่ไทยสู้ไก่พม่าไม่ได้นั้นจึงไม่เป็นความจริง เหตุที่เขานิยมไก่ลูกผสมพม่า ก็เพราะตัวไก่ลูกผสมตัวใดมีลีลาชั้นเชิงแบบไก่พม่า ก็เป็นไก่ที่สามารถปราบไก่เชิงกอดขี่ได้ ซึ่งไก่เชิงกอดขี่นี้เป็นไก่ที่นิยมเลี้ยงกันมาก ด้วยเหตุนี้เขาจึงนำไก่ลูกผสมพม่ามาเล่นเพื่อแก้ทางไก่เชิง ความจริงไก่พม่าก็แพ้ทางไก่ประเภท เดินอัด เดินบี้จี้ไม่ห่าง จิกหลังจิกไหล่ตี ตีหน้าคอ หน้าอุด ตีตัว ตีหลัง ไก่พม่าทนไม่ได้เพราะกระดูกบาง ถอดใจหนีง่ายๆ อีกอย่างหนึ่ง ไก่พม่ามักจะแพ้ทางไก่ประเภท ลูกหน้าไวและไก่แข้งเปล่า หรือดีดลูกหน้าไว เข้าทำนองหมองูตายเพราะงู ดังนั้นถ้าเราหาไก่ไทยที่มีชั้นเชิงดังกล่าว ก็สามารถสู้ไก่พม่าได้ ไม่ว่าจะเป็นลูก 100% หรือลูกผสม
2. ไก่ชนไทยกับไก่ไซง่อนลูก 100% ไก่ไทยกับไก่ไซง่อนมีโอกาสตีกันได้มากกว่าไก่ไทยกับไก่พม่าลูก 100% เพราะมีขนาดใกล้เคียงกัน ข้อเท็จจริงไก่ไซง่อนมีจุดเด่นมากกว่าไก่ไทยทั่วไป คือ กระดูกโครงสร้างใหญ่ ผิวหนังหนากว่าไก่ไทย ปอดใหญ่กว่า ตีหนัก ลำโต แต่ไก่ไซง่อนมีจุดอ่อนที่อืดอาด ช้าไม่คล่องตัว ลีลาชั้นเชิงมีน้อย ไก่ไซง่อนลูก 100% ไม่น่ากลัว ไก่ไทยสามารถสู้ได้ คือ เราต้องหา ไก่ตีแผล ตีวงแดง ตีบ้องหู และต้องเป็นไก่ปากไว ไก่ไซง่อนที่เขากลัวกันทุกวันนี้ไม่ใช่ไซง่อนลูก 100% แต่เขากลัวลูกไซง่อนผสม ที่ผสมไทย ผสมพม่า เพราะไก่ไซง่อนลูกผสมบางตัวมักเป็นไก่ปากไว ตีแม่นและตีลำโต แถมมีโครงสร้างและผิวพรรณแบบไก่ไซง่อนด้วย
3. เวลาชนของแต่ละยก
เรื่องเวลาของแต่ละยกในการชนไก่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไก่ไทยสู้ไก่เทศไม่ได้
เพราะเวลาของการชนแต่ละยกเพิ่มขึ้น จาก 20 นาที เป็น 23-25
นาที เพื่อให้ไก่แพ้ชนะกันไวขึ้น ซึ่งไก่ไทยสู้ไก่ต่างชาติไม่ได้ตรงนี้เอง
เพราะไก่ไทยโดยสภาพร่างกายมีปอดเล็กกว่าไก่ไซง่อน ดังนั้นเมื่อยืดเวลาในการตีออกไป
ไก่ไทยจะหอบ และถูกตีในช่วงเวลาตั้งแต่นาทีที่ 20 เป็นต้นไป
อีกสาเหตุหนึ่งไก่ไทยเป็นไก่เชิงขยันตี จึงต้องออกแรงมาก ทำให้เหนื่อยมากเหนื่อยไว
โดยสรุปภาพรวมแล้ว ไก่ไทยสามารถสู้กับไก่ต่างประเทศทุกสายพันธุ์ได้
ไก่ไทยสู้ได้ขอเพียงแต่
1. นักเพาะไก่ทั้งหลาย ให้เพาะไก่ที่มีลีลาชั้นเชิงในการตีไว ตีแม่น ตีเจ็บให้มากกว่าไก่เชิง อย่าเอาไก่เชิงมากไปผสมกับไก่เชิงมากเช่นกัน ลูกไก่ที่ได้จะเป็นไก่เชิงล้นไม่ค่อยตี พอไปตีก็มัวแต่เล่นเชิง พอถูกตีตัวและเหนื่อยเข้าก็หมดเชิง แต่ถ้าเพาะได้ ไก่เชิงดี ถี่ แม่น ลำโต ก็สามารถพูดได้ว่าไก่ไทยเก่งที่สุดในโลก
2. ไก่ไทยเป็นไก่หนังบาง ส่วนไก่ไซง่อนเป็นไก่หนังหนา หากตีกันโดยมีการพันเดือยหรือสวมนวม ก็ไปเข้าทางของไก่ไซง่อน หากจะตีกับไก่ไซง่อนต้องตีแบบปล่อยเดือยตามธรรมชาติ ไก่ไซง่อนเจอเดือยเข้าก็สู้ไม่ได้ เพราะไก่ไทยไวกว่า แต่ถ้าตีกับไก่พม่าก็ห้ามปล่อยเดือยเพราะไก่พม่าเป็นไก่แม่นเดือย
3. กำหนดเวลาชน เวลาชนของแต่ละยกต้องอยู่ในเวลา 20 นาทีอย่าให้เกินกว่านี้
1. นักเพาะไก่ทั้งหลาย ให้เพาะไก่ที่มีลีลาชั้นเชิงในการตีไว ตีแม่น ตีเจ็บให้มากกว่าไก่เชิง อย่าเอาไก่เชิงมากไปผสมกับไก่เชิงมากเช่นกัน ลูกไก่ที่ได้จะเป็นไก่เชิงล้นไม่ค่อยตี พอไปตีก็มัวแต่เล่นเชิง พอถูกตีตัวและเหนื่อยเข้าก็หมดเชิง แต่ถ้าเพาะได้ ไก่เชิงดี ถี่ แม่น ลำโต ก็สามารถพูดได้ว่าไก่ไทยเก่งที่สุดในโลก
2. ไก่ไทยเป็นไก่หนังบาง ส่วนไก่ไซง่อนเป็นไก่หนังหนา หากตีกันโดยมีการพันเดือยหรือสวมนวม ก็ไปเข้าทางของไก่ไซง่อน หากจะตีกับไก่ไซง่อนต้องตีแบบปล่อยเดือยตามธรรมชาติ ไก่ไซง่อนเจอเดือยเข้าก็สู้ไม่ได้ เพราะไก่ไทยไวกว่า แต่ถ้าตีกับไก่พม่าก็ห้ามปล่อยเดือยเพราะไก่พม่าเป็นไก่แม่นเดือย
3. กำหนดเวลาชน เวลาชนของแต่ละยกต้องอยู่ในเวลา 20 นาทีอย่าให้เกินกว่านี้
ชั้นเชิงของไก่ชน
ปกติไก่ชนจะมีชั้นเชิงการต่อสู้อยู่ 2 อย่าง คือไก่ตั้ง และไก่ลง ส่วนไก่กอดนั้นเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพ่อพันธุ์ไก่ตั้ง แม่พันธุ์ไก่ลง หรือพ่อพันธุ์ไก่ลง กับแม่พันธุ์ไก่ตั้ง ลูกออกมาจึงกลายมาเป็นไก่กอด ส่วนนักเลงเล่นส่วนมากชอบไก่ตั้ง เพราะการต่อสู้ของไก่ตั้งนั้นเหนื่อยช้าไม่ต้องวิ่งมาก เพราะยืนคอยดักตีอย่างเดียว แต่บางคนชอบไก่เชิง เพราะไก่เชิงไม่ค่อยเจ็บตัวเวลาเข้าชนจะลักตีขโมยตี ดังนั้นถ้าท่านจะผสมก็ควรเลือกชั้นเชิงไก่ให้เหมือนกัน กล่าวคือ ถ้าท่านชอบไก่เชิง ก็ควรหาตัวเมียที่มีชั้นเชิงเหมือนตัวผู้ ถ้าท่านชอบไก่ตั้ง ก็ควรเลือกตัวเมีย ให้ตั้งเหมือนตัวผู้ ถ้าท่านไม่เลือกชั้นเชิงให้เหมือนกันแล้ว ลูกออกมาจะชนเลอะเทอะเป็นไก่โง่ ควรระวังให้มาก เพราะปกติไม่ค่อยคัดเลือกไก่กัน ผสมกันเรื่อยไปจึงไม่ค่อยได้ไก่เก่ง ได้น้อยตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น